SpongeBob SpongeBob

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560

น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช





































คำสอนของพ่อ


1463044_626146650765272_107944788_n
1.คนดี
“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
(พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี 11 ธันวาคม 2512)
2.อนาคตทำนายได้
“ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดที่เป็นอยู่แก่เราในวันนี้ ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเรื่องนั้นคือ เหตุ สิ่งที่ได้รับคือ ผล และผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีก คือ ทำให้สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ทำงานที่ต้องการได้ แล้วการทำงานของท่าน ก็จะเป็นเหตุให้เกิดผลอื่นๆ ต่อเนื่องกันไปอีก ไม่หยุดยั้ง ดังนั้นที่พูดกันว่า ให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้พิจารณาการกระทำหรือกรรมของตนให้ดีนั่นเอง คนเราโดยมากมักนึกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรเราทราบไม่ได้แต่ที่จริงเราย่อมจะทราบได้บ้างเหมือนกัน เพราะอนาคต ก็คือ ผลของการกระทำในปัจจุบัน”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8 กรกฎาคม 2519)
3.ความดี
“การทำดีนั้นทำยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ความชั่วซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว แต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำลัง ในการสร้างเสริมและสะสมความดี”
(พระบรมราโชวาทพระราชทาน แก่ผู้สำเร็จการศึกษา ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สวนอัมพร 14 สิงหาคม 2525)
king1a
4.การทำงาน
“เมื่อมีโอกาสและมีงานทำ ควรเต็มใจทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้ หรือเงื่อนไขอันใด ไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง คนที่ทำงานได้จริงๆนั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด ย่อมทำได้เสมอ ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่ มีความขยัน และ ความซื่อสัตย์สุจริต ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา 8 กรกฎาคม 2530)
5.คุณธรรมของคน
“ประการแรก คือ ความซื่อสัตย์ ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริต ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมคุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงาม จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุขความร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไป”
(พระบรมราโชวาท ในพิธีบรวงสรวง สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า 5 เมษายน 2535)
mykings
6.ความเพียร
“ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรม และพึงประสงค์นั้นคือความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไป และระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่ อย่างหนึ่ง กับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดีงาม ให้บังเกิดขึ้นและระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไป อย่างหนึ่ง ความเพียรทั้งสองประการนี้ เป็นอุปการะอย่างสำคัญ ต่อการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน ถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าว ประโยชน์และความสุขก็จะบังเกิดขึ้นพร้อม ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม”
(พระราชดำรัสพระราชทานในพิธีกาญจนาภิเษก ทรงครองราชย์ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539)
7.แก้ปัญหาด้วยปัญญา
“ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้ ถ้ารู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูก การคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิด หรือด้วยสมองกล
เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังไมมีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใด สามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างสมบูรณ์
การขบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญา คือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาด และอคติต่างๆมิให้เกิดขึ้น
ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นกระบวนการได้กระจ่างชัด ทุกขั้นตอน”
(พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 สิงหาคม 2539)
644992-topic-ix-3
8. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ 
“คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้”
(พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521)
9.พูดจริง ทำจริง 
“ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม”
(พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540)






วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

A Sonnet for My Incomparable Mother

I often contemplate my childhood, Mom.
I am a mother now, and so I know
Hard work is mixed together with the fun;
You learned that when you raised me long ago.
I think of all the things you gave to me:
Sacrifice, devotion, love and tears,
Your heart, your mind, your energy and soul--
All these you spent on me throughout the years.
You loved me with a never-failing love
You gave me strength and sweet security,
And then you did the hardest thing of all:
You let me separate and set me free.

Every day, I try my best to be
A mother like the mom you were to me.


"พระองค์แรก ผู้แสนดี ให้ชีวิต
ครูคนแรก ผู้ประสิทธิ์ การศึกษา
หมอคนแรก ผู้ถือช้อน คอยป้อนยา
รวมคุณค่า นี้ได้แก่ แม่เราเอง"
          แม่คำๆนี้เป็นเพียงคำสั้นๆ แต่มีความหมายที่ลึกซึ้งท่านคือผู้หญิงธรรมดาๆคนหนึ่งบนโลก แต่กลับเป็นคนพิเศษสำหรับลูกรักแม่คือผู้ประเสริฐสุดในชีวิตทุกๆชีวิต เป็นผู้ที่สามารถให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่ลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เงินทอง ของมีค่าหรือแม้กระทั่ง ลมหายใจที่ยังเหลืออยู่ของแม่
        ตลอดเวลาตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่จน ณ วินาทีนี้แม่ก็ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ไม่มีสิ้นสุดแม่ให้ทั้งความรักความห่วงหาความห่วงใยความอาทรอีกทั้งยังมอบความรักที่มิอาจมิรักใดมาทดแทนได้ให้แก่เรานั่นก็คือความรักความผูกพันระหว่าง … แม่ และ ลูก … รักของแม่นั้นเปรียบดั่งสายธาราที่คอยระงับความทุกข์ใจของลูกแม้ในยามที่ลูกไม่ต้องการ แต่เรานั้น…ไม่เคยนึกถึงความรู้สึกของแม่เลยเรากลับทำให้แม่ต้องเจ็บช้าเสียน้ำตาในบางกิริยาที่เราแสดงออกถึงกระนั้นก็ตามในเวลาที่ลูกรักมีปัญหาแม่ก็คือผู้ให้คำปรึกษาเป็นอย่างดีในเวลาที่ลูกรักต้องเสียน้ำตาแม่ก็สละเวลาทำงานของแม่ มาคอยปลอบโยนไม่คิดโกรธหรือเคืองลูกรักแม้แต่น้อยที่ในบางครั้งบางคราวลูกรักก็ไม่เชื่อฟังคำที่แม่พร่ำสั่งพร่ำสอนถ้าจะให้เปรียบพระคุณของแม่นั้นก็คงจะเปรียบประดุจผืนทรายที่ไม่มีจุดหมายปลายทางเหมือนรักของแม่ที่มีแต่การให้เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทนนอกจากรอยยิ้มของลูกความรู้สึกที่แม่มีต่อลูกนั้นเปรียบประดุจดั่งพื้นน้ำที่ไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลกาในช่วงเวลาต่างๆในชีวิตเรานั้นก็ต่างผ่านอารมณ์ต่างๆมามากมาย ในเวลาที่เรามีความสุข แม่ก็มีความสุขไปกับเราแต่ในเวลาที่เราทุกข์แม่กลับทุกข์กว่าเราหลาย 10 หลาย 100 เท่า แต่ท่านก็ไม่เคยแสดงออกถึงความอ่อนล้าความเหน็ดเหนื่อยของท่านให้เราได้สังเกตเห็นเลยแม่ของเรานี้ช่างอดช่างทนเหลือเกิน แต่ที่ท่านอดทนนี้ก็ด้วยความรักความห่วงใย และความผูกพันที่มีต่อลูกทั้งสิ้น ในชีวิตนี้แม่ยอมโกหกเราเพื่อให้เรามีความสุข โกหกนั้นก็คือ คำว่า''ไม่เหนื่อย ไม่โกรธ ไม่เจ็บ ไม่เศร้าและไม่ในอีกหลายๆอย่างของแม่แม่พูดคำๆนี้ออกมาในความหมายตรงกันข้ามกับความเป็นจริงแต่ที่โกหกนี้ก็เพื่อไม่ให้ลูกรักต้องกังวลถึงเรื่องของตนเอง
         พระคุณที่แม่ได้มอบให้แก่เราไม่ว่าจะให้มีกระดาษกี่ร้อยกี่พันแผ่นก็ไม่สามารถเขียนบรรยายออกมาได้หมดสิ้นหรือต่อให้นักพูดมืออาชีพมาบรรยายก็มิอาจจะพูดได้ลึกซึ้งเท่าใจสัมผัสความรู้สึกนี้มันเกินจะบรรยายจริงๆทุกสิ่งทุกอย่างมิอาจทดแทน


วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559





คณะครุศาสตร์


 รายละเอียดของคณะ

            คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์  จะมุ่งเน้นเรื่อง การศึกษา ทางด้านการจัดการศึกษา และการศึกษาวิชาชีพครู  ผู้ที่สนใจเรียนคณะนี้ ควรมีความใผ่รู้ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีจุดมุ่งหมายในการดำเนินการ แสวงหาวิธีการ ความรู้ เทคโนโลยี เพื่อมาพัฒนามนุษย์ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมไปถึงเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทั้งในท้องถิ่น และสร้างสรรค์สังคมที่สันติสุข สิ่งสำคัญของผู้ที่สนใจเรียนคณะนี้คือ ต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู ที่เป็นสิ่งที่ผู้เรียนควรพึ่งมี
 
 สาขาที่เปิดสอน 





สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
สาขาวิชาประถมศึกษา
สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์)
สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์)
สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สาขาวิชาธุรกิจศึกษา
สาขาวิชาศิลปศึกษา
สาขาวิชาดนตรีศึกษา
สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา
สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา
สาขาวิชาบริหารการศึกษา
สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่
สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา
สาขาวิชาการอุดมศึกษา
สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา


 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา 

        จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์และสายศิลป์  มีความขยันหมั่นเพียร ใฝ่เรียนรู้สู้งาน มีความประพฤติดี มีจิตวิญญาณความเป็นครู
 
 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ

          การประกอบอาชีพ สำหรับผู้ที่เรียนคณะนี้ แน่นอนว่าสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายเช่นกัน  ทั้งในหน่วยงานรัฐบาลและเอกชน เป็นครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นบุคลกรทางการศึกษา ทำงานทางด้านการแนะแนว งานโสตทัศนศึกษา งานการศึกษานอกระบบโรงเรียน งานจิตวิทยาประจำสถานพยาบาล ตลอดจนประกอบอาชีพตามความสนใจของตัวเอง นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อทางด้านปริญญาโทและปริญญาเอกได้
 
 สถาบันที่เปิดสอน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะครุศาสตร์
ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
สาขาวิชาประถมศึกษา
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์
สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์
สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาขาวิชาการสอนภาษาต่างประเทศ
ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา
สาขาวิชาพัฒนศึกษา
สาขาวิชาบริหารการศึกษา
สาขาวิชานิเทศการศึกษา
สาขาวิชาอุดมศึกษา
สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา
ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต
สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน